ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช.จำกัด
Posted: ฝ่ายการจัดการ Date: 2019-09-26 12:52:56
IP: 110.78.23.133
 
   

ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด

                 สหกรณ์ออมทรัพย์ รพช.จำกัด เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2517 โดยคณะผู้ก่อตั้งที่ยังเป็นสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ประกอบด้วย ข้าราชการ และลูกจ้างประจำ ได้พิจารณาร่างข้อบังคับสำหรับสหกรณ์ฯ ที่จะจัดตั้งขึ้นในเบื้องต้นและรวบรวมใบสมัครของผู้ที่ประสงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกและขอจดทะเบียนตั้งสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 ต่อมาในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการใหม่   

                 กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบทถูกยุบหน่วยงาน และมีการกำหนดส่วนราชการระดับกรมขึ้นใหม่ โดยไม่มีกำหนดอัตรากำลังเพิ่ม ทำให้ข้าราชการและลูกจ้างจากกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบทเดิมส่วนใหญ่ถูกถ่ายโอนมาสังกัดส่วนราชการที่ตั้งขึ้นใหม่ 3 กรม ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทางหลวงชนบท กรมทรัพยากรน้ำ และเป็นหน่วยงานราชการหลักของสหกรณ์ฯ ในการเปิดรับสมาชิก ทำให้ปัจจุบันสมาชิกของสหกรณ์ฯ ประกอบด้วย 

                  1.ข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำที่สังกัด ใน 3 กรมหลัก ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทางหลวงชนบท และกรมทรัพยากรน้ำ

                  2.ข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ บางส่วนที่เคยสังกัดกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบทและถูกโอนย้ายหน่วยงานไปยังหน่วยราชการอื่นๆ นอกเหนือจาก 3 กรมดังกล่าวข้างต้น ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่ยังคงมีสถานภาพเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง

                  3.สมาชิกสหกรณ์ฯ ที่เกษียณอายุราชการจากหน่วยงานใน ข้อ 1 และ ข้อ 2

                  4.เจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์ รพช.จำกัด 

                  สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช.ดังกล่าวข้างต้นกระจายอยู่หลายหน่วยงานทั่วประเทศ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยสหกรณ์ฯ สามารถรับสมัครสมาชิกเพิ่มได้ใน 3 กรมหลัก เท่านั้น แต่สมาชิกในหน่วยงานอื่นๆ นอกจาก 3 กรมหลักดังกล่าว เมื่อลาออกจากสหกรณ์แล้ว ไม่สามารถกลับมาสมัครใหม่ได้อีก โดยมีโครงสร้าง ดังนี้ 

                   หลังจากเลือกคณะกรรมการและประธานจากที่ประชุมใหญ่แล้ว คณะกรรมการทั้งคณะจะนัดประชุม        เพื่อเลือกตั้งรองประธานและกำหนดหน้าที่ของกรรมการ เลขานุการ และเหรัญญิก 

                    โดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายเช็ค ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาจะมีผู้ลงนามเช็คสั่งจ่าย 2 ท่าน กำหนดผู้ที่มีชื่อลงนามทั้งหมด 8 ท่าน       แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ แรก ผู้มีอำนาจลงนาม 5 ท่าน (ประธาน,รองประธานหรือกรรมการ) ลงนามร่วมกับผู้ที่มีรายชื่ออีก 3 ท่าน ได้แก่ เลขานุการ เหรัญญิก หรือผู้จัดการ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 6-8 โดยทำหน้าที่ อนุมัติเงินกู้ฉุกเฉิน

                   คณะทำงานชุดต่างๆ ที่ได้รับมอบอำนาจเฉพาะกิจจากคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาในเรื่องต่างๆ ตามหน้าที่ที่กำหนดให้ ทั้งในกรณีเร่งด่วนและเพื่อให้เกิความคล่องตัวในการดำเนินงาน แล้วรายงานผลให้ที่ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์ทราบ โดยคัดเลือกจากกรรมการทั้ง 14 ท่าน (ยกเว้นประธาน) จากที่คุมคณะกรรมการดำเนินการและแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ ได้แก่ 

                    1.คณะกรรมการเงินกู้

                    2.คณะอนุกรรมการนโยบายการเงินและการลงทุน

                    3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบงานสหกรณ์

                    4.คณะอนุกรรมการวิชาการและประชาสัมพันธ์

                    5.คณะอนุกรรมการสวัสดิการ

                       ในด้านฝ่ายจัดการประกอบด้วย

                        - ผู้จัดการสหกรณ์

                        - ผู้ช่วยผู้จัดการ

                        - หัวหน้าฝ่าย 5 คน

                          และเจ้าหน้าที่ 8 คน ได้แก่

                          1.ฝ่ายบริหาร 1 คน

                          2.ฝ่ายบัญชี 1 คน

                          3.ฝ่ายการเงิน 2 คน

                          4.ฝ่ายทะบียนหุ้นและเงินกู้ 3 คน

                          5.ฝ่ายประมวลผล 1 คน

                          รวมเจ้าหน้าที่สหกรณ์ทั้งสิ้น จำนวน 15 คน                    



   
   
 
 

soatsolution โปรแกรมสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ฯ